วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บทที่ 1 ประวัติศาสตร์และหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์

บทที่ 1 ประวัติศาสตร์และหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์


จุดประสงค์การเรียนรู้

  • 1. ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ
  • 2. วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
  • 3. เห็นความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ

1 ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์

1 ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์

1x42.gif
ความหมายของประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์เกิดจากความมีสามัญสำนึกของมนุษย์อันเป็นคุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่น  มนุษย์ผูกพันกับประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิด  จนไม่อาจจะแยกจากกันได้นั้น คือจะพยายามเรียนรู้และเข้าใจตนเอง โดยมีประวัติศาสตร์เป็นเครื่องนำทางมุ่งศึกษาพฤติกรรมมนุษย์แล้วให้ความ สำคัญแก่ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือพฤติกรรมนั้นๆ มาก
คนทั่วไปมักจะมีความเข้าใจว่าประวัติศาสตร์คือ  “อดีต” หรือ “ส่วนหนึ่งของอดีต” แต่ในความเป็นจริงนั้น “อดีต” ก็คือ  “เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่าน” และ “ส่วนหนึ่งหรือเสี้ยวเล็กๆ เสี้ยวหนึ่งของอดีต”
จะเป็นประวัติศาสตร์ได้ ก็ต่อเมื่อนักประวัติศาสตร์ สนใจและเห็นความสำคัญ มีประโยชน์ ต่อมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์ คือ การสืบสวนสอบสวนค้นคว้า เรื่องราวของมนุษย์ในอดีต และเรื่องราวนั้นมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวม
เนื่องจากวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มีขอบข่ายเนื้อหากว้าง ดังนั้นจึงมีนักประวัติศาสตร์ได้ให้ความหมายไว้หลายๆ ทัศนะ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงทัศนะของนักประวัติศาสตร์บางท่านไว้ดังนี้
1. เซอร์ ชาร์ลส์ โอมัน มีความเห็นในทำนองเดียวกับ อาร์เอฟ อารากอน  ว่า ประวัติศาสตร์ คือ “การตรวจสอบหลักฐานทั้งประเภทเอกสารและวัตถุ เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดต่อเนื่องกันแล้วหาข้อสรุปเป็นไปไม่ได้ ที่เราจะสามารถได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ แต่เราอาจจะสามารถอธิบายข้อเท็จจริงบางอย่างที่ได้จากการตรวจสอบ และวิเคราะห์หลักฐานเหล่านั้น ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่พอจะยอมรับกันได้”
2. จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า “วิชาประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยความชัดเจนในการต่อสู้ ทางสังคมมนุษย์ ซึ่งวิชานี้เสมือนตัวอย่างของการต่อสู้ทางสังคมแห่งชีวิตของชนรุ่นหลังการศึกษาประวัติศาสตร์จึงเป็นหัวใจแห่งการศึกษาความเป็นมาของสังคม เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่การปฏิบัติอันถูกต้อง”
3. ดร. วิจิตร สินสิริ  ได้แสดงทัศนะไว้ว่า “ประวัติศาสตร์คือบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต เกี่ยวด้วยเรื่องเหตุการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ปรัชญาที่มนุษย์ได้คิดได้สร้างไว้ถือเป็นความเจริญรุ่งเรือง และเป็นรากฐานของความเจริญสมัยต่อๆมา
ดังนั้นเราจึงมีประวัติศาสตร์หลายแขนง เช่น ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์อวกาศ ประวัติศาสตร์การเมืองฯลฯ
จากความหมายดังกล่าวข้างต้นของนักประวัติศาสตร์พอจะสรุปได้ว่า ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในอดีตซึ่งต้องอาศัยการค้นคว้าหาหลักฐาน การวิเคราะห์ การตีความ การสังเคราะห์ โดยอาศัยข้อมูล ร่องรอยหลักฐานต่างๆมาพิจารณา เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
จะเห็นได้ว่าประวัติศาสตร์มีความหมายหลายนัย เช่น เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในอดีต เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ และมีวิธีการบันทึกอย่างเป็นระบบ  รวมทั้งประวัติศาสตร์สามารถเกิดขึ้นทุกขณะ ฯลฯ


ความสำคัญของประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง ทำให้รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับขอบเขตของตน ขณะเดียวกันก็รู้เกี่ยงกับขอบเขตของคนอื่น กล่าวคือช่วยให้มนุษย์รู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น รวมทั้งเข้าใจสังคมของมนุษย์โดยส่วนรวม
ประวัติศาสตร์ ช่วยให้เกิดความเข้าใจในมรดก วัฒนธรรมของมนุษยชาติ ความรู้ ความคิดอ่านกว้างขวาง ทันเหตุการณ์ ทันสมัย ทันคน และสามารถเข้าใจคุณค่าสิ่งต่างๆในสมัยของตนได้
ประวัติศาสตร์ ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความระมัดระวัง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฝึกฝนความอดทน ความสุขุมรอบคอบ ความสามารถในการวินิจฉัย และมีความละเอียดเพียงพอที่จะเข้าใจปัญหาสลับซับซ้อน
ประวัติศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่มนุษย์สามารถนำมาเป็นบทเรียน ให้แก่ปัจจุบัน โดยบทเรียนประวัติศาสตร์ อาจใช้เป็นประสบการณ์พื้นฐานการตัดสินใจ เหตุการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรืออนาคต และประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหาและวิกฤตการณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ทั้งนี้เพื่อสันติสุขและพัฒนาการของสังคมมนุษย์เอง
ประวัติศาสตร์ สอนให้คนรู้จักคิดเป็น ไม่หลงเชื่อสิ่งใดง่าย ๆ โดยมิได้ไตร่ตรองพิจารณาให้ ถี่ถ้วนเสียก่อน ประวัติศาสตร์ของชาติย่อมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ ในตระกูล และในความ เป็นชาติประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความรักชาติและช่วยกันรักษาชาติบ้านเมืองให้คงอยู่ ทั้งก้าวไปสู่ความเจริญ
ประวัติศาสตร์ จะเกิดขึ้นได้ด้วยองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ สังคมมนุษย์ หลักฐาน มิติของเวลา และวิธีการทางประวัติศาสตร์
โดยขั้นแรกต้องมีเหตุการณ์หรือพฤติกรรมในสังคมมนุษย์เกิดขึ้น แต่เนื่องจากสังคมมนุษย์เกิดขึ้นมากว่า 500,000 ปีมาแล้ว
ความจริงในอดีตจึงต้องอาศัยร่องรอยหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจเกิดจากธรรมชาติหรืออาจเกิดจากสิ่งที่มนุษย์ตั้งใจหรือ อาจไม่ตั้งใจจะสร้างหลักฐานขึ้น และเมื่อเกิดหลักฐานขึ้นแล้วต้องอาศัยนักประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ทำหน้าที่รวบรวม ตรวจสอบ พิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ ตีความ วินิจฉัย และเรียบเรียงข้อเท็จจริงที่ค้นพบ เพื่ออธิบายเรื่องราวในสังคมนั้น ๆ ว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุใด และผลของเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ใดสามารถจำลองอดีตได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ฉะนั้นเหตุการณ์ที่เรียบเรียงขึ้นเป็นประวัติศาสตร์นี้ จึงเป็นเรื่องราวเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมมนุษย์ในอดีตเท่านั้น โดยผู้ศึกษาเห็นว่าเหตุการณ์นั้นมีความสำคัญต่อสังคม และควรเรียนรู้ ถือเป็นบทเรียนของอดีตที่มีผลถึงปัจจุบันและอนาคต การสืบค้นอดีต เพื่อเข้าใจสังคมปัจจุบันและเห็นแนวทางปฏิบัติในอนาคตคือ คุณค่าสำคัญของ ประวัติศาสตร์
นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์ยังช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ ความรัก และความภูมิใจในชาติของตน เข้าใจลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ กัน
และที่สำคัญผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ การแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูล หลักฐานที่หลากหลาย ได้ฝึกฝนการอ่าน การเขียน การเล่าเรื่อง และการนำเสนออย่างมีเหตุผล อันเป็นกระบวนการสร้างภูมิปัญญาอย่างแท้จริง

2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์

2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์

1x42.gif
ความหมายของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริงประกอบในการอธิบายแลให้เหตุผลในการเขียนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคอาจเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่เป็นวัตถุได้แก่ ตำนาน จดหมายเหตุ โบราณวัตถุโบราณสถาน ต่างๆเช่น วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นต้น

หลักฐานทางประวัติศาสตร์
1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ หมายถึง หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ มนุษย์ในแต่ละสังคมได้ทิ้งหลักฐานที่เป็นตัวหนังสือประเภทต่างๆไว้มากมาย บนแผ่นศิลา โลหะ ใบลาน กระดาษ หรือผ้าไหม หลักฐาน ลายลักษณ์ของไทย เช่น จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ หนังสือพิมพ์ วารสาร กฎหมาย จดหมาย เอกสารราชการ งานวรรณกรรม เละงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์
.                  .     

.
สมุดข่อย พงศาวดารฉบับหลวงประเสรฐ  
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์ หมายถึง หลักฐานที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น และหลงเหลือตกทอดมาตามกาลเวลา หลักฐานประเภทนี้มีทั้งหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์และหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ ได้แก่
2.1 หลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ โบราณสถาน เช่น พระราชวัง วัด เจดีย์ กำแพงเมือง คูเมือง และ โบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับหินหรือเปลือกหอย เป็นต้น
2.2 หลักฐานทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม เช่น จิตกรรม ประติมากรรม ปราสาทหิน ปราสาทราชมณเฑียร เรือนไทย พระพุทธรูป เจดีย์ เป็นต้น
2.3 หลักฐานทางนาฏกรรมและดนตรี เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ละคร ดนตรี เป็นต้น
2.4 หลักฐานจากขนบธรรมเนียมประเพณีและคติความเชื่อของชนกลุ่มต่าง ๆ
2.5 หลักฐานจากคำบอกเล่า ที่ถ่ายทอดหรือเล่าสืบต่อกันมาและการสัมภาษณ์สอบถามจากบุคคลทั่วไป
2.6 หลักฐานประเภทโสตทัศน์ เช่น ภาพถ่าย ภาพถ่ายทางอากาศแผนที่ ภาพยนตร์
หลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์เป็นข้อมูลสำคัญที่นักประวัติศาสตร์สามารถนำมาใช้ในการสืบค้นเรื่องราวต่างๆ ในอดีต งานศึกษา ทางประวัติศาสตร์ จะพิจารณาจากเวลาที่เริ่มมีหลักฐาน ประเภท ลาย-ลักษณ์เป็นจุดแบ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการศึกษาอดีตในยุคประวัติศาสตร์จะใช้เฉพาะหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์เท่านั้น การใช้หลักฐานอย่างกว้างขวางจะช่วยให้งานศึกษาประวัติศาสตร์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยนั้น งานเขียนประวัติศาสตร์ไทยเมื่อแรกเริ่มนั้นจารึก ตำนาน พงศาวดาร ซึ่งมีลักษณะการบันทึกแบบบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของศาสนาและพระมหากษัตริย์จนถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทย ได้รับแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ แบบ ตะวันตก ที่ให้ความสำคัญในการตรวจสอบหลักฐาน และปล่อยให้หลักฐานบอกความหมายของตัวเอง เป็นพัฒนาการอีกระดับหนึ่งจากการบอกเล่าแบบพงศาวดาร แต่ในด้านเอกสาร หลักฐานยังเน้นที่การเปรียบเทียบพงศาวดารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง โดยเน้นความสำคัญของเมืองและศูนย์รวมอำนาจ

3 ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

3 ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

1x42.gif

  1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
    1. หลักฐานชั้นต้น
    2. หลักฐานชั้นรอง
  2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
    1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
    2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
  3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
    1. หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
    2. หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

  1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ

    1. หลักฐานชั้นต้น( primary sources)  หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ
    2. หลักฐานชั้นรอง( secondary sources)  หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
  1. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
    1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (written sources)  หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้างโบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
    2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปะการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ
  2. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
    1. หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface   หมายถึง หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
    2. หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง  หมายถึง วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการ ศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน

4 การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

4 การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

1x42.gif

วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การศึกษาประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มาศึกษาวิเคราะห์ ตีความเรื่องราว และตรวจสอบความถูกต้องของเรื่องราวเหตุการณ์นั้น ๆ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวประวัติความเป็นมาของมนุษย์ เรียกว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้
  1. หลักฐานทางศิลปกรรมและโบราณคดี หลักฐานทางศิลปกรรมที่สำคัญ คือ ศิลปวัตถุแบบอู่ทอง ศิลปวัตถุแบบลพบุรี ศิลปวัตถุแบบทวารวดี นอกจากนี้ได้แก่ เงินตรา ซากอิฐปูนของวัดวาอาราม พระพุทธรูป เครื่องใช้ตามบ้านเรือน ฯลฯ
  2. หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่านั้นมักจะเขียนลงบนสมุดข่อยหรือใบลาน เช่น ตำนานสิงหนวัติ (เล่าเรื่องตั้งแต่พระเจ้าสิงหนวัติอพยพมาจากเหนือ)  จามเทวีวงศ์ (เป็นเรื่องเมืองหริภุญไชย)  รัตน์พิมพ์วงศ์ (เป็นตำนานพระแก้วมรกต) สิหิงคุนิทาน (เป็นประวัติพุทธศาสนาและประวัติเมืองต่าง ๆ ในลานนาไทย)  จุลยุทธ์กาลวงศ์ (เป็นพงศาวดารไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ตลอดสมัยอยุธยา)  ตำนานสุวรรณโคมคำ และตำนานมูลศาสนา (เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย) ปัญหาของหลักฐานที่เป็นหนังสือเก่า คือ เราไม่ทราบว่าผู้บันทึกเขียนไว้เมื่อไร มีความจริงแค่ไหน และแต่งเติมเพียงใด
  3. หลักฐานที่เป็นศิลาจารึก ศิลาจารึกถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมากในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในระยะเริ่มแรกสมัยสุโขทัยที่สำคัญได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง)  ศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม)ศิลาจารึกหลักที่ 4 (จารึกวัดป่ามะม่วง) ศิลาจารึกหลักที่ 8 ข. (จารึกวัดพระมหาธาตุ) จารึกหลักที่ 24 (จารึกวัดหัวเวียงไชยา) จารึกหลักที่ 35 (จารึกดงแม่นางเมือง นครสวรรค์) จารึกหลักที่ 62 (จารึกวัดพระยืน ลำพูน) ฯลฯ หมายเหตุ ศิลาจารึกให้ลำดับหลักตามการค้นพบ ก่อน – หลัง
  4. หลักฐานพวกที่เป็นพงศาวดารพระราชพงศาวดารสยามมีมากมาย แต่ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่
    1. พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยอยุธยา คือ ฉบับหลวงประเสริฐ
    2. พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ แยกเป็น 3 รัชกาล คือ
      1. ฉบับรัชกาลที่ 1 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ฉบับเจ้าพระยาพิพิธพิชัย ฉบับพระพันรัตน์ ฉบับบริติชมิวเซียม
      2. ฉบับรัชกาลที่ 3 มี 1 สำนวน คือ ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
      3. ฉบับรัชกาลที่ 4 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพระราชหัตถเลขา
      4. พระราชพงศาวดารฉบับอื่น ๆ คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) พงศาวดารเหนือ พงศาวดารโยนก
  5. หลักฐานที่เป็นจดหมายเหตุชาวต่างประเทศหลักฐานพวกนี้เป็นหลักฐานภาษาต่างประเทศ เพราะมีชาวยุโรปหลายชาติเข้ามาติดต่อในสมัยอยุธยา หลักฐานเหล่านี้อยู่ในรูปของบันทึก จดหมายเหตุ จดหมายถึงผู้บังคับบัญชา จดหมายของข้าราชการและพ่อค้า เอกสารทางการทูต บันทึกของมิชชันนารี เช่น จดหมายเหตุของลาลูแบร์ บันทึกของบาดหลวงเดอ ชั่ว สี จดหมายเหตุวันวิลิต เอกสารฮอลันดา ฯลฯ อ้างอิงจาก (สุริยันตร์ เชาวน์ปรีชา: เอกสารประกอบ การสัมมนาประวัติพระยาพิชัยดาบหักเพื่อการจัดทำหลักสูตรบุคคลสำคัญท้องถิ่น

หลักเกณฑ์การประเมินค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
แบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายใน หมายถึง การตรวจสอบความน่าเชื้อถือของหลักฐานว่ามีความน่าเชื่อถือมาก ปานกลาง หรือไม่น่าเชื่อถือทั้งหมด ซึ่งจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรตรวจสอบดังนี้
    1. ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึก ได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้น
    2. จุดมุ่งหมายของผู้บันทึก บางคนตั้งใจบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น
    3. ผู้บันทึกรู้ในเรื่องราวนั้นจริงหรือไม่ เรื่องราวที่อ้างอิงมาจากบุคคลอื่นหรือเป็นคำพูดของผู้บันทึกเอง
    4. คุณสมบัติของผู้บันทึกเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน สภาพแวดล้อมน่าเชื่อถือหรือไม่ ขณะที่บันทึกนั้นสภาพร่างกายหรือจิตใจปกติหรือไม่มีความกดดันทางอารมณ์ หรือถูกบีบบังคับให้เขียนหรือไม่ข้อความในหลักฐานที่อาจเกิดการคัดลอกหรือแปลผิดพลาดหรือมีการต่อเติมเกิดขึ้น
    5. ข้อความนั้นมีอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมหรือไม่
    6. วิธีการในการบันทึกใช้วิธีการบันทึกอย่างไร ถี่ถ้วนมีอรรถรสหรือเป็นการบันทึกโดยการสืบหาสาเหตุอย่างเที่ยงธรรม ถ้าหากผู้บันทึกใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์ จะทำให้เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ
การประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอก เป็นการมุ่งวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานว่า เป็นของจริงหรือของปลอม ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด โดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบหลักฐานว่าจริงหรือปลอมนั้น ผู้ศึกษาไม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ทั้งหมด เพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางจริง ๆ จึงต้องอาศัยผลงานหรือขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นการตรวจสอบหาข้อบกพร่องของหลักฐาน

5 การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

5 การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

1x42.gif

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะมีการเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  เรื่องราวที่จดบันทึกไว้เรียกว่า  ข้อมูล  เมื่อจะใช้ข้อมูลควรต้องดาเนินการ ดังนี้
  1. การแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น  ข้อมูลเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นั้นจะมีทั้งข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นของผู้เขียน  ผู้บันทึก  หรือผู้แต่ง  ข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งอาจตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันบ้าง  แต่ความคิดเห็น เป็นส่วนที่ผู้เขียน  ผู้บันทึก  หรือผู้แต่ง   ผู้ใช้หลักฐาน  คิดว่าข้อมูลที่ถูกต้องน่าจะเป็นอย่างไร
  2. การแยกแยะระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงข้อมูลหรือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า ข้อเท็จจริง คำว่า ข้อเท็จจริง แยกออกเป็น ข้อเท็จจริงกับข้อจริง เรื่องราวทางประวัติศาสตร์จึงประกอบด้วย  ข้อเท็จจริงกับข้อจริงหรือความจริง เช่น เรื่องราวการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2112) การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ( พ.ศ. 2310 ) ความจริง คือ ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2112  และ พ.ศ. 2310 ส่วนข้อเท็จจริง  คือ  ข้อมูลที่เป็นคำอธิบายที่ปรากฏในหลักฐานทั้งหลายว่า  ทำไมไทยจึงเสียกรุงศรีอยุธยา  เช่น คนไทยเตรียมตัวไม่พร้อม  ผู้น่าอ่อนแอและมีความแตกแยกภายใน  ทหารมีจำนวนน้อย  มีอาวุธล้าสมัยและมีจำนวนไม่พอเพียง ข้าศึกมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความสามารถสูง  มีทหารจำนวนมากกว่าและมีอาวุธดีกว่า คำอธิบายดังกล่าวอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง  ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง  ดังนั้นจึงเรียกคำอธิบายหรือเหตุผลว่า  ข้อเท็จจริง ดังนั้น  ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  นักเรียนจึงต้องค้นคว้าข้อมูลจากหลักฐาน หลายแหล่งหรืออ่านหนังสือหลายเล่ม  เพื่อจะได้สามารถแยกแยะว่าเรื่องใดเป็นความจริง เรื่องใดเป็นข้อเท็จจริง  เรื่องนี้ยังเป็นประโยชน์ในการรับรู้  รับฟังข้อมูลหรือเรื่องราวทั้งหลายในชีวิตประจำวันว่าเรื่องใดควรเชื่อ  และเรื่องใดไม่ควรเชื่อ

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
ขั้นการกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐ์กรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล
จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นลักษณะ ประเภท และความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน

บทที่ 2 อาณาจักรอยุธยา

บทที่ 2 อาณาจักรอยุธยา

1x42.gif

จุดประสงค์การเรียนรู้


1. วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีในด้านต่าง ๆ
2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา